การวิเคราะห์เบื้องต้น
- รอบเดินเบาคงสูงไป
- พอจะหยุด เกียร์จะเปลี่ยนลงมาที่เกียร์ต่ำ เพื่อช่วยแรงเบรค และ เพื่อพร้อมที่จะพุ่งเป็นเมื่อเรากลับมาเหยียบคันเร่ง ต่อ แต่ด้วยรอบเครื่องที่สูงไป เกียร์จึงเปลี่ยนได้ไม่นิ่มนวลคับ
- ปรับตั้งสายคันเร่งไม่ถูกต้อง
- สัญญาณเบรคไม่เข้ากล่อง
- สัญญาณสปีดไม่ครบ
- ลิ้นปีกผีเสื้อต้องอยู่ในตำแหน่งรอบเดินเบา หรือค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซนเซอร์ตำแหน่งปีกผีเสื้อ ไม่ถูกต้อง
- ECU ผิดปกติ
- เกียร์มีปัญหาภายใน
- ยอยยางสภาพรับไม่ได้
ถ้าเข้าเกียร์จาก N ไป D แล้วกระตุก ให้ตรวจเช็คว่ามีสัญญาณจากสวิทช์ไฟเบรคไปเข้ากล่อง ECU ตรงตำแหน่ง STP หรือไม่นะครับ (ให้เช็คว่า เวลาเหยียบเบรค มีสัญญาณไฟ + มาที่กล่อง ECU หรือไม่ แล้วเช็คว่า เข้ากล่องถูกตำแหน่งของ Pin หรือไม่นะครับ) เพราะว่า สัญญาณไฟเบรคตัวนี้ เป็นตัวแจ้งกล่อง ECU ให้ควบคุมการกระตุกของเกียร์ที่เวลาเลื่อนคันเกียร์จ าก N ไป D ครับ ถ้ามีเครื่องมือตรวจเช็คได้ว่า เกียร์ออโต้ขณะนี้อยู่เกียร์ไหน จะเห็นว่า เวลาเราเหยียบเบรค (รถหยุดนิ่ง ขณะที่ คันเกียร์อยู่ที่ D) เกียร์ออโต้จะอยู่เกียร์ 2 ทุกครั้ง แต่พอเราปล่อยเบรค แล้วมาเหยียบคันเร่ง เกียร์ออโต้ จะเปลี่ยนไปอยู่ที่เกียร์ 1 ทุกครั้ง นั่นแหละครับ แสดงว่า เกียร์ออโต้กำลังทำงานควบคุมการกระตุกอยู่ครับ
- สัญญาณสปีดต้องมีครบ
- สัญญาณเบรคต้องเข้ากล่อง
- สัญญาณลิ้นเร่งต้องอยู่ที่เดินเบา
ปกติถ้าเราดึงคันเกียร์จาก N มาที่ D นั้น เท้าเราจะเหยียบเบรคด้วยเสมอ ดังนั้นขณะนั้นจะเป็นเกียร์ 2 ครับ พอเราปล่อยเบรค หมุนเท้ามาเหยียบคันเร่ง เกียร์จึงจะเปลี่ยนเป็นเกียร์ 1
แต่ที่ว่า เวลาเราขับรถเคลื่อนที่ไปแล้ว ไม่ว่าจะอยู่เกียร์อะไรก็ตาม เวลาเราเหยียบเบรค (เพื่อชะลอ) เกียร์จะปรับเปลี่ยนไปตามรอบเครื่อง ดังนั้น เมื่อเราเหยียบเบรคให้หยุด เกียร์จะอยู่ที่เกียร์ไหน ก็เกียร์นั้นครับ แต่ว่า เมื่อไหร่ที่เราปล่อยเบรค แล้วเหยียบคันเร่ง เกียร์จะต้องเปลี่ยนเป็นเกียร์ 1 เสมอครับ
เห็นความสำคัญของสัญญาณไฟเบรคเข้ากล่องหรือยังครับ? ถ้าไม่มีสัญญาณนี้เข้ากล่อง กล่องจะรู้ได้อย่างไรว่า ว่าเราเหยียบเบรคเพื่ออะไร และปล่อยเบรคเพื่ออะไรครับ กล่องจะตรวจเช็คความสัมพันธ์ระหว่าง เบรค รอบเครื่อง และมุมของปีกผีเสื้อ เพื่อตัดสินใจสั่งงานเกียร์ให้กระทำไปตามที่ระบบนั้น ๆ ควรจะเป็นครับ ที่เกิดการกระตุกของเกียร์ ก็เป็นด้วยประการฉะนี้แล
เกิดอาการกระตุกอย่างรุนแรงขณะที่เปลี่ยนเกียร์ทุกตำ แหน่งคันเกียร์
สาเหตุที่เป็นไปได้ แบ่งออกเป็นระบบกลไก หรือ ระบบควบคุมด้วยอิเล็คทรอนิกส์
ระบบกลไก
- ปรับตั้งสายคันเร่งไม่ถูกต้อง
- วาล์วปีกผีเสื้อทำงานบกพร่อง
- ชุดเกียร์ ทำงานบกพร่อง (เกียร์พัง)
- ค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซนเซอร์ตำแหน่งปีกผีเสื้อไม่ถ ูกต้อง
- ECU ผิดปกติ (เสีย)
ถ้าท่านไม่มีความรู้พื้นฐานเบื้องต้นของงานช่างไฟฟ้า ไม่ควร(ห้าม)ตั้งเองนะครับ เพราะว่า จะมีผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์และเกียร์โดยตรงครับ
เซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่ง ของ Toyota ผลิตออกมา 2 แบบ คือ
- แบบหน้า สัมผัสปิด-เปิด (on-off Type) เครื่องรุ่นเก่าๆ เช่น 1G และเครื่อง J รุ่นแรกๆ ใช้แบบนี้ ซึ่งจะมีอยู่ 3 ขั้วคือ IDL, TL และ PSW ซึ่งผมขออนุญาตละไว้ไม่กล่าวถึงรายละเอียด
- แบบเชิงเส้น (Linear Type) เครื่องรุ่นใหม่ขึ้น เช่น 4A-GE, 3S, 1G และ JZ รุ่นต่อๆมา จะใช้แบบนี้ ซึ่งจะมีอยู่ 4 ขั้วคือ E2, IDL, VTA และ Vcc (จากซ้ายไปขวา มองจากสายไฟเข้าไปหาปลั๊ก)
ผมขอยกตัวอย่างการวัดและตั้งตำแหน่งหาค่าที่เหมาะสมข อง เซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่ง ในเครื่อง 2JZ-GE และ 2JZ-GTE
เครื่องมือที่ต้องใช้ก็คือ
- ฟิลเลอร์เกจ์
- มัลติมิเตอร์วัดกระแสและความต้านทาน
- ถอดขั้วต่อสายไฟของเซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่ง ออก
- ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานของ E2 - VTA เมื่อเหยียบคันเร่งสุด (ปีกผีเสื้อเปิดสุด) จะต้องได้ 3.3 - 10 K โอห์ม
- ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานของ E2 - VTA เมื่อปล่อยคันเร่ง (ปีกผีเสื้อปิดสุด) จะต้องได้ 200 - 800 โอห์ม
- ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่าง E2 - Vcc จะได้ 4 - 9 K โอห์ม
- สอดฟิลเลอร์ ที่มีความหนา 0.45 มม.(0.0177 นิ้ว) เข้าระหว่างสกรูยันแขนลิ้นเร่งและแขนกระเดื่องลิ้นเร่ง (อยู่ด้านหลังปีกผีเสื้อ ตรงสายคันเร่ง) ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่าง E2 - IDL จะต้องได้ 0 - 2.3 K โอห์ม
- สอดฟิลเลอร์ ที่มีความหนา 0.55 มม.(0.0216 นิ้ว) เข้าระหว่างสกรูยันแขนลิ้นเร่งและแขนกระเดื่องลิ้นเร่ง (อยู่ด้านหลังปีกผีเสื้อ ตรงสายคันเร่ง) ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่าง E2 - IDL จะต้องได้ค่า อินฟินิตี้ (ค่าอนันต์)
กรณีเครื่องยนต์ที่ใช้เกียร์ออโต้
- เสียบขั้วต่อสายไฟของเซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่งเข้าที่ เดิม
- เปิดสวิทช์กุญแจไว้ที่ on
- ใช้โวล์ทมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าที่ขั้ว E2 - IDL เมื่อเหยียบคันเร่งสุด (ปีกผีเสื้อเปิดสุด) จะต้องได้ 9 - 14 โวล์ท
- ใช้โวล์ทมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าที่ขั้ว E2 - IDL เมื่อปล่อยคันเร่ง (ปีกผีเสื้อปิดสุด) จะต้องได้ 0 - 1.5 โวล์ท
- ใช้โวล์ทมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าที่ขั้ว E2 - Vcc จะต้องได้ 4.9 - 5 โวลท์
- ใช้โวล์ทมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าที่ขั้ว E2 - VTA เมื่อเหยียบคันเร่งสุด (ปีกผีเสื้อเปิดสุด) จะต้องได้ 3.2 - 4.9 โวล์ท
- ใช้โวล์ทมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าที่ขั้ว E2 - VTA เมื่อปล่อยคันเร่ง (ปีกผีเสื้อปิดสุด) จะต้องได้ 0.3 - 0.8 โวล์ท
- ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่าง E2 - IDL จะต้องได้ 0 - 2.3 K โอห์ม
- ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่าง E2 - IDL จะต้องได้ค่า อินฟินิตี้ (ค่าอนันต์)
- ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานของ E2 - VTA เมื่อเหยียบคันเร่งสุด (ปีกผีเสื้อเปิดสุด) จะต้องได้ 3.3 - 10 K โอห์ม
- ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานของ E2 - VTA เมื่อปล่อยคันเร่ง (ปีกผีเสื้อปิดสุด) จะต้องได้ 200 - 800 โอห์ม
- ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่าง E2 - Vcc จะได้ 4 - 9 K โอห์ม
กรณี การวัดและตั้งค่าหาตำแหน่งลิ้นเร่ง ที่เหมาะสมไม่ได้ อาจจะสามารถสันนิษฐานได้ว่า เซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่ง ชำรุด ครับ
ผมวาง 2 jvvti มีปันหาเรื่องคอมแอเปลี่ยนอาทิตละลูกใช้ commuter เกียออโต ต้องเปลี่ยนเฟือ
ตอบลบท้าย 9.41
เหรอครับ ผมกำลังคิดที่จะเปลี่ยนอยู่พอดี จะได้รู้ปัญหา
ลบผมของปรึกษาผู้รู้หน่อยน่ะครับ อยากรู้ว่าเป็นเพราะเกียร์หรือว่าระบบไฟ หรืออะไร ก็คือของผมเครื่อง 2jvvti มีปัญหาเหมือนเกียร์เวิลด์ลงไปว่างในเวลาขับลอยตัวแล้วมักจะเกิดกับเกียร์3 และ4 อยากรู้ว่าเป็นเพราะอะไรครับ
ตอบลบแผ่นเกียร์มีปัญหาภายในครับ ลองเช็คน้ำมันเกียร์ก่อน ว่าขาดพร่องไปหรือเปล่า ถ้าน้ำมันเกียร์ไม่ขาด เป็นที่ชุดเกียร์ครับ
ตอบลบแนะนำอู่ให้หน่อยครับ ขอบคุณครับ
ตอบลบอยู่แถวไหนครับ ถ้าใน กทม. มีหลายที่ ที่ซ่อมเกียร์ได้ แต่หลายที่ชอบที่จะให้เราซื้อชุดเกียร์ใหม่เลย มันก็แพงกว่านิดหน่อย
ลบ