โปรโมทเว็บ | โปรโมทเว็บไซต์ | โปรโมทเว็บขายของ | โปรโมทเว็บฟรี !!! รับทำโฆษณาผ่าน Google Adwords และ Facebook Ads , SEO, การตลาดออนไลน์, การโปรโมทเว็บ, สื่อทางการตลาด
1/06/2555
การสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง
หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งคือการเลือกสี ในทุกๆสีนั้นล้วนมีความรู้สึกที่แตกต่างกัน การเลือกสีหรือการจับคู่สีเพื่อแบรนด์ของคุณนั้น คุณจำเป็นต้องนำมันมาเลือกใช้และใส่ลงไปในแบรนด์ของคุณ เพราะสีจะทำให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกบางอย่างที่มีต่อตราสินค้า ดังนั้นจึงเป็น สิ่งสำคัญมากในการเลือกสีที่จะแสดงอัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการวิจัยต่างประเทศเปิดเผยว่าคนทั่วไปจะตัดสินใจจากจิตใต้สำนึก (Subconscious judgment) เกี่ยวกับ คน, สภาพแวดล้อม หรือสินค้า ภายในเวลา 90 วินาทีของการเริ่มต้นการดู และระหว่าง 62% ถึง 90% ของการตัดสินใจนัั้นจะอยู่บนพื้นฐานของสีเพียงอย่างเดียว
ทำไมต้องเป็นเรื่องสี….???
ผมจะถามง่ายๆ ให้ตอบในใจนะครับว่า แบรนด์ที่ผมพูดนั้นคือแบรนด์อะไร
ค่ายมือถือสีฟ้า…..??? ร้านกาแฟสีเขียว…..??? แบรนด์น้ำดำสีแดง….??? สายการบินสีม่วง….???
คงจะตอบถูกกันถ้วนหน้าแน่ๆ ฉะนั้นหากคุณเป็นเจ้าของสีหนึ่งในอุตสาหกรรมอะไรก็แล้วแต่ สีของคุณนี้จะเป็นสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ของคุณ มันสามารถแสดงภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Image) ได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีสีแบรนด์แล้ว ถ้าคุณขายสินค้าชนิดหนึ่ง สีบนบรรจุภัณฑ์ของคุณก็จะโดดเด่นจากคู่แข่งขันใน Shelf สีเองนั้นจะเป็นที่รู้จักและจดจำในสื่อส่งเสริมการขายทั้งหมด รวมทั้งร้าน โลโก้ นามบัตร หัวจดหมาย และอื่นๆ อีกมากมาย
แล้วจะเริ่มกันอย่างไรดีล่ะเนี่ย….???
มีเครื่องมือหนึ่งที่ยอดเยี่ยมซึ่งสามารถช่วยเลือกสีได้เรียกว่า Cymbolism มันมาจากคำว่า Color+Symbolism คือแบบสำรวจของสมาคมสีด้วย Keyword เช่น Hot ก็คือสีแดง, Warm ก็คือสีส้ม, Cold ก็คือสีน้ำเงิน เป็นต้น ซึ่งคุณจะต้องเลือกสีที่รู้สึกดีที่สุดเป็นตัวแทนของแบรนด์คุณ เพื่อช่วยให้คุณเลือกสีได้เหมาะสมสำหรับตราสินค้าของคุณ ผมได้รวบรวมผลจากการ Cymbolism แบบพื้นฐานทั่วไปเบื้องต้น ซึ่งสามารถไปปรับใช้ได้ และนอกจาก นี้ยังมีตัวอย่างของโลโก้ที่ใช้สีแต่ละสีมาเป็น Guideline
(ดูภาพประกอบ) คำที่อยู่บนตารางเหล่านี้เป็นตัวแทนความรู้สึกความหมายที่ เกี่ยวข้องกับสีต่างๆ ซึ่งคำนั้นๆ จะเป็นความรู้สึกเบื้องต้นของคนทั่วไป ที่มีต่อสีต่างๆ มันเป็นสิ่งที่ดีที่บอกถึงความรู้สึกของแบรนด์เราได้ชัดเจนด้วย Keyword และความรู้สึกว่าสีหนึ่งๆนั้น มีความหมายว่าอย่างไร
ผมยังได้ยกตัวอย่างสีแบรนด์ที่มีหลายๆสี ซึ่งอยู่หัวข้อ MULTI นั้น บางแบรนด์เลือกไม่ใช้สีเดียว แต่กลับเลือกใช้ 4สี หรือมากกว่านั้น นี้คือการแสดงถึง ความหลากหลาย ทำให้ความรู้สึกของแบรนด์นั้นแตกต่างจากตลาดที่แข่งอยู่
แล้ววิธีการเลือกสีของคุณจะทำอย่างไรกันล่ะเนี่ย!!!!
มองผ่านตารางข้างต้นโดยภาพรวม สีแต่ละสีหมายถึงอะไรคุณน่าจะรู้ เพราะเป็น Common Sense
แต่มี 3 คำถามที่คุณจะต้องถามตัวเองก่อนที่จะทำแบรนด์ว่า….
สีอะไรจึงจะหมายถึงบุคลิกของตราสินค้าคุณ(Brand Personality)….???
สีอะไรที่เหมาะสมกับลักษณะของสินค้า / บริการคุณ(Brand Characteristic)….???
สิ่งที่สีคู่แข่งใช้งานเป็นอย่างไร(Brand Competitor Comparisons)….???
สิ่งเหล่านี้ต้องให้ผู้ประกอบการกลับไปทำการบ้านมาว่า จริงๆแล้วบุคลิกภาพของสีแบรนด์ที่เราต้องการนั้น คืออะไร ให้พยายามลองศึกษาและ ตอบคำถามทั้ง 3 ข้อให้ได้เบื้องต้นก่อน หากพิจารณาแล้วอย่าลืมคำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องของวัฒนธรรมหรือบริบทของ สีในแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่นในโลกตะวันตก, สีขาวถือว่าเป็นสีของ ความบริสุทธิ์และความสงบสุข แต่ในบางแห่งของเอเชียนั้นสีขาวเป็นสีของความตาย ฉะนั้นการตรวจสอบว่าสีที่คุณเลือกจะให้ความถูกต้องกับและความ เหมาะสมในตลาดนั้นๆหรือไม่
จุดที่สำคัญที่สุดที่จะต้องพิจารณาซึ่งขาดเสียไม่ได้คือ สีคู่แข่งหลักของคุณ สีของคู่แข่งหลักๆของคุณ หากคุณเป็นคนแรกในตลาดใหม่หรือเรียกว่า Blue Ocean ในวงการธุรกิจ คุณจะต้องเลือกอย่างพิถีพิถัน และเลือกสีที่แสดงถึงผลิตภัณฑ์และบุคลิกภาพของคุณ แต่หากว่าคุณมาเป็นที่สองในตลาด สิ่งแรกที่ต้องดำเนินการ แทนการเลือกสีเดียวกันหรือคล้ายกันจากคู่แข่ง ให้เลือกตรงข้าม เช่น เลือกสีฟ้าถ้าหากคู่แข่งของคุณมีสีแดง, เลือกสีม่วงถ้าพวกเขาใช้สีเหลือง เป็นต้น จุดแข็งของแบรนด์นั้นอยู่ที่ความสามารถที่จะโดดเด่น หรือแตกต่าง การเลือกสีเดียวกันกับที่ของคู่แข่งหลัก จะทำให้คุณเป็นผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์เลียนแบบ (Me-too product) แต่คุณต้องการที่จะแยกตัวเองจากคู่แข่งขัน คุณต้องต้องแสดงความ แตกต่างให้ได้
Case Study ที่เห็นชัดเจน และใกล้ตัวมากๆ ก็คือ ตลาดของธนาคาร ที่นับวันจะมีสีสันออกมามากมายเหลือเกิน เริ่มต้นจากเจ้าแรกๆ ในเรื่องพลังของสี อย่าง “พลังม่วง” ของไทยพาณิชย์, สีเขียวอย่าง กสิกร ซึ่งหลังจากนั้นก็มีองค์กรที่ทำตามกันมาเช่น สีส้มอย่าง ธนชาติ, สีชมพู อย่างออมสิน, สีเหลือง อย่างกรุงศรี และล่าสุดเพิ่งเปลี่ยนมาไม่นานอย่างธนาคารกรุงไทย ที่ใช้สีฟ้า เป็นต้น นี่แหละ!!! แสดงให้เห็นองค์กรใหญ่ๆ และมั่นคงอย่างธนาคารต่างๆ ที่ระดมให้ความสำคัญในเรื่องของสีสัน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถสื่อสารได้ ชัดเจน เข้าใจง่ายที่สุด (Single Minded) ฉะนั้น คุณรู้แล้วใช่มั้ยล่ะว่า แบรนด์คุณจะต้องใช้สีอะไร….???
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ท่านสามารถแสดงข้อคิดเห็นที่เหมือน หรือ แตกต่างได้ครับ ขอความกรุณาใช้ถ้อยคำที่สุภาพด้วยครับ ขอบคุณครับ