1/16/2555

ตำนานฅนภูไท(คำชะอี)

              บรรพบุรุษของชาวบ้านคำชะอีเป็นชนเผ่าผู้ไทยดำ มีผู้รู้บันทึกไว้ว่า เดิมมีวิวาทสถานอยู่ที่ เมืองแถน หรือ เมืองแถง (หรือเมืองนาน้อยอ้อยหนู หรือเมืองน้ำน้อยอ้อยหนู ) เมืองนี้ในปัจจุบันคือเมืองเดียนเบียนฟู ประเทศเวียดนาม
                ที่ เรียกผู้ไทยดำก็เพราะว่าชอบใส่เสื้อผ้าสีดำ เพราะสมัยนั้นชนเผ่านี้รู้จักสกัดสีจากพืชชนิดหนึ่งซึ่งจะได้สีดำคราม จึงเรียกว่าต้นคราม ในความรู้สึกของผู้ไทยว่าเป็นสีที่สวยงามมาก จึงนิยมนำมาย้อมผ้าทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม โดยเฉพาะเสื้อผ้ามักนิยมใส่สีดำนี้เป็นประจำ ไม่ว่าจะไปทำงาน (ทำนา ไร่ สวน ) หรือไปงานบุญพิธีต่างๆ จึงได้รับขนาดนามว่า ผู้ไทยดำ
                ส่วนผู้ไทยอีกเผ่าหนึ่งอยู่ที่เมืองซึ่งอยู่ตอนเหนือขึ้นไปใกล้กับดินแดนจีน ได้รับอิทธิพลจากจีนที่ชอบนุ่งขาวห่มขาว จึงได้ชื่อว่า ผู้ไทยขาว
                อยู่ มาที่เมืองแถนเกิดทุพภิกขภัย ราษฎรเกิดความเดือนร้อน อดอยากยากแค้น และอาดจะถูกเจ้าเมืองขามเหงรังแกชาวเมืองแถนกลุ่มหนึ่งจึงอพยพลงมาอยู่กับ เจ้าเมืองอนุรุธธิราชแห่งเมืองเวียงจันทน์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์จึงให้ไปอยู่ที่เมืองวัง และต่อมาได้ขยับขยายออกไปเป็นหลายเมือง เช่น เมืองบก เมืองผาบัง เมืองอ่างคำ เมืองพิน เมืองนอก เมืองเซโปน เมืองเชียงฮ่ม เมืองคำอ้อ เมืองพาน
                บรรพบุรุษชาวบ้านคำชะอีเป็นชาวเมืองวัง
                พ.ศ.2369 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏต่อกรุงเทพฯ รัชกาลที่ 3 จึงโปรดให้กองทัพสยามขึ้นไปปราบได้สำเร็จและได้กวาดตอนผู้คน รวมทั้งผู้ไทยเมืองต่างๆ เข้ามาอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงด้วย เช่นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม แต่ก็ยังมีชาวผู้ไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ทิ้งบ้านทิ้งเมืองหลบหนีภัยสงคราม เข้าอยู่ป่า
                ผู้ ไทยเมืองวังและเมืองคำอ้อกลุ่มหนึ่งที่ถูกกวาดตอนมา ได้ขอเข้าไปอยู่กับพระจันทรสุริยวงศ์(พรหม) เจ้าเมืองมุกดาหารคนที่ 3 (2384-2405) อยู่ชั่วระยะหนึ่งก็ขออนุญาตจากเจ้าเมืองอพยพออกมาทางทิศตะวันตกของเมือง มุกดาการเพื่อหาทำเลที่จะตั้งหลักแหล่งแห่งใหม่ กลุ่มที่อพยพมานี้ต่างพร้อมใจยกให้ ท้าวสิงห์ เจ้าเมืองคำอ้อเป็นผู้นำ
                ตอน แรกกลุ่มที่อพยพมานี้พักอยู่ที่แห่งหนึ่ง (อยู่ระหว่างบ้านตกแดดและบ้านหนองเอี่ยนทุ่ง) แต่เห็นว่าค่อนข้างจะเป็นที่โคกหินแห่ (หินลูกรัง) ไม่เหมาะที่ทำการเพาะปลูก จึงอพยพลงมาทางทิศใต้เข้าสู่ดงทึบ มาเห็นสายน้ำแห่งหนึ่งบริเวณรอบๆ มีความชุ่มชื้นน่าจะเหมาะแก่การเพราะปลูก จึงอพยพต่อลงมาทางทิศใต้เข้าสู่ดงทึบ มาเห็นสายน้ำแห่งหนึ่งรอบๆ มีความชุ่มชื้นน่าจะเหมาะแก่การเพาะปลูก ชาวเมืองวังจึงตัดสินใจที่จะพักอยู่ที่นี่เพื่อจะสำรวจที่ทางต่อไป ส่วนชาวเมืองคำอ้อนั้นอพยพต่อไปอีกทางทิศใต้และไปตั้งหลักแหล่งที่แห่งหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันนี้คือ บ้านหนองสูง
                สายน้ำตรงที่ชาวเมืองวังพักอยู่นี้เป็นสายน้ำซับ(ผู้ไทยเรียกว่าน้ำคำ) มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ในป่าบริเวณรอบๆ มีจักจั่นชนิดหนึ่งมีจำนวนเรือนหมื่นอาศัยอยู่ ผู้ไทยเรียกจักจั่นชนิดนี้ว่าแมงอีตามเสียงร้องของมันที่หูของผู้ไทยได้ยิน จึงเรียกสายน้ำแห่งนี้ว่า สายคำแมงอีอยู่มาก็เพี้ยนเป็นคำ คำสระอี และคำชะอีซึ่ง เป็นชื่อของบ้านจนถึงปัจจุบัน ส่วนบริเวณที่พักตอนแรกนั้น ที่ริมสายน้ำจะเป็นลานหินเรียบสลับกับที่โล่ง บริเวณลานหินนั้น เวลาเดินย่ำลงไปจะมีเสียงดัง ตึงๆ ตามฝีเท้าที่ย่ำลงไป จึงเรียกบริเวณนี้ว่า ดานตึง มาจนถึงปัจจุบัน
                เมื่อ ได้พักและสร้างเพิงที่พักแล้ว ชาวเมืองวังกลุ่มนี้ก็พากันออกสำรวจที่ทางใครชอบตรงใดก็จับจองเอาตามใจชอบ (สมัยนั้นคนมีน้อย ที่ดินมีมากไม่มีการห้ามหวงแต่อย่างใด) แต่ละคนก็ได้ที่ดินกันกว้างขวาง ทั้งทางด้านทิศตะวันออก(นาหลวง) และทิศใต้(นาขี้หมู นาหนองแจ้งเรื่อยลงไป)
                เมื่อ หักล้างถางพงลงเป็นสวนแล้วก็อพยพจากที่พักตอนแรก(ดานตึง) เข้าไปอยู่ประจำที่สวนของตนจากสวนหลายปีเข้าก็พลิกฟื้นเป็นผืนนาขยับขยายออก ไปเรื่อยๆ จำนวนคนก็เพิ่มมากขึ้นกลายเป็นชุชนย่อมๆ กระจายกันอยู่ เช่น บ้านโพนแดง(บริเวณที่พักสงฆ์แก้งวังนอง) บ้านหนองไหล(ทางทิศตะวันตกบ้านาหนองแจ้ง) บ้านฝากห้วย(ฝั่งห้วยคันแทใหญ่ทางทิศตะวันตกคนละฟากกับที่ตั้งโรงสีใหญ่ จำเริญพัฒนา) บ้านตาดโตน(อยู่ริมฝั่งแก้งม่วงไข่ห้วยคันแทใหญ่) บ้านคำชะอี(ที่เป็นหมู่ 4 และหมู่ 14 ในปัจจุบัน) บ้านนี้ใหญ่กว่าทุกบ้านที่กล่าวมา ต่อมา บ้านโพนแดง บ้านหนองไหล บ้านฟากห้วย บ้านตาดโตนก็ร้างเพราะอพยพเข้ามาอยู่บ้านใหญ่(คือบ้านคำชะอี) และไปอยู่ถิ่นอื่นบ้าง
                บ้านคำชะอีก็กลายเป็นบ้านผู้ใหญ่บ้านขึ้นเรื่อยๆ ประมาณ พ.ศ.2450 ได้รับการยกฐานะเป็นตำบลคำชะอี โดยมี เจ้าพรหมรินทร์ (นายต้อน สุวรรณไตรย์) เป็นกำนันคนแรก
                5 มิถุนายน 2484 ได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอคำชะอี (ที่ทำการกิ่งอยู่ตรงตลาด อบต.ตรงข้ามกับโรงเรียนคำชะอีพิทยาคมในปัจจุบัน) สถานีตำรวจอยู่บริเวณข้างบ้านอาจารย์นพดล-บุษบา อุปัญญ์ ด้านทิศตะวันออกครอบคลุมบริเวณที่เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วย
                พ.ศ.2492 ได้ย้ายที่ทำการกิ่งเข้าไปอยู่ที่บ้านน้ำเที่ยง แต่ยังใช้ชื่อกิ่งอำเภอคำชะอี
                6 มิถุนายน 2499 ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอคำชะอี ที่ทำการอำเภอก็คงยังอยู่ที่บ้านน้ำเที่ยงมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนบ้านคำชะอีก็เป็นเพียงอำเภอร้าง มีฐานะเป็นตำบลคำชะอี ขึ้นกับอำเภอคำชะอี และมีฐานะเป็นเพียงเจ้าของชื่อ อำเภอคำชะอี เท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ท่านสามารถแสดงข้อคิดเห็นที่เหมือน หรือ แตกต่างได้ครับ ขอความกรุณาใช้ถ้อยคำที่สุภาพด้วยครับ ขอบคุณครับ